วันอังคารที่ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2554

รำแกลมอ

การรำแกลมอของชาวกูยสุรินทร์

ประวัติและความเป็นมา

ชาวกูย อพยพเข้าประเทศไทย ครั้งใหญ่ในสมัยปลายอยุธยา (พ.ศ.๒๒๔๕-๒๓๒๖) ชาวกูยมีถิ่นเดิมอยู่บริเวณตอนเหนือของเมืองกำปงธม ประเทศกัมพูชา ชาวกูย เคยเป็นรัฐอิสระ ในช่วงพุทธศตวรรษที่ ๒๐ เคยส่งทูตมาค้าขายกับอยุธยาและเคยช่วยกษัตริย์ เขมรปราบขบถ ต่อมาเขมรได้ใช้อำนาจทางทหารปราบชาวกูย และผนวกอาณาจักรเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของเขมร ชาวกูยชอบการอพยพ เพื่อแสวงหาที่ดินอุดมสมบูรณ์ในการเพาะปลูก ชาวกูยอพยพขึ้นเหนือเข้าสู่เมืองอัตตะบือ-แสนแป จำปาศักดิ์ และสาละวัน ทางตอนใต้ของลาวและอพยพข้ามลำน้ำโขงเข้าสู่ภาคอีสาน ทางด้าน แก่งสะพือ อ.โขงเจียม หลังจากนั้นลูกหลานชาวกูยแยกย้ายกันไปตั้งบ้านเรือน ชาวกูยที่อพยพมา มีหัวหน้าของตัวเอง คนไทยเรียกชาวกูยว่า “เขมรป่าดง” แต่ “ชาวกูย”เรียกเรียกตัวองว่า กุย หรือ โกย ซึ่งแปลว่า “คน”ส่วนคำว่า “ส่วย” นั้น ชาวกูยเองไม่ค่อยยอมรับชื่อนี้ ปัจจุบันพบชาวกูยในจังหวัดบุรีรัมย์ อุบลราชธานี นครราชสีมา มหาสารคาม สุรินทร์ ศรีสะเกษและ สุพรรณบุรี) ส่วนใหญ่ชาวกูยในประเทศไทย ตั้งถิ่นฐานปนอยู่กับชาวเขมรสูง และชาวลาวทำให้ชาวกูยถูกกลืนเข้าเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรม เขมรสูงและลาว บ้านของชาวกูยมีลักษณะใต้ถุนสูงด้านหน้าเอาไว้เลี้ยงช้าง ใต้ถุนใช้เป็นที่วางหูก ทอผ้าวางกระด้งไหม และวัสดุเครื่องใช้สานด้วยหวายหรือไม้ไผ่ ชาวกูยบางบ้านจะแบ่งส่วนหนึ่งที่ติดตัวบ้านเป็นยุ้งข้าว บางบ้านสร้างแยกต่างหาก
“แกลมอ”     กูย หรือ กวย” เป็นคนพื้นเมืองดั้งเดิมของ จ.สุรินทร์ ที่สืบเชื้อสายมาจากขอม ซึ่งมีความรู้ความสามารถในด้านวิชาคาถาอาคม มีอาชีพในการจับช้างและเลี้ยงช้างมานานหลายชั่วอายุคน ชอบอาศัยอยู่ในทำเลป่าดง คนเหล่านี้เป็นกลุ่มชาติพันธ์ที่จัดอยู่ในกลุ่มที่พูดภาษา “ออสโตรเอเซียติก” ซึ่งมีเฉพาะภาษาพูด แต่ไม่มีภาษาเขียน เรียกกันว่า “ข่า ส่วย หรือ กวย” ส่วนใหญ่อาศัยอยู่ในเขตพื้นที่อำเภอจอมพระ ท่าตูม ศีขรภูมิ และ อ.สังขะ จังหวัดสุรินทร์ส่วนหนึ่งอาศัยอยู่ในเขตพื้นที่จังหวัดศรีสะเกษ บุรีรัมย์ อุบลราชธานี และบางหมู่บ้านของจังหวัดมหาสารคาม รวมทั้งจังหวัดนครราชสีมา ด้วยในปัจจุบันชนกลุ่มนี้ยังอาศัยอยู่อย่างกระจัดกระจาย ในพื้นที่ตอนเหนือของประเทศกัมพูชา และทางตอนใต้ของสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว เป็นกลุ่มที่รู้จักกันในนามของ “ข่า” ซึ่งมีวัฒนธรรมด้านภาษาอยู่ในกลุ่มเดียวกันกับชาวกูย และภาษากูย หลายคำเมื่อรวมเข้ากับภาษาเขมร จะมีรากศัพท์ใกล้เคียงกับภาษาพูดของชาว “ไทโส้” ที่อาศัยอยู่ในอำเภอกุสุมาลย์ จ.สกลนคร ซึ่งทั้งหมดนี้เป็นกลุ่มคนที่สืบทอดศิลปวัฒนธรรมประเพณี ต่อเนื่องกันมาเป็นเวลาหลายพันปีมาแล้ว


ที่มา  http://202.143.165.36/~klamore/